ในวันที่ 6 พ.ค. 2023 นี้ จะเป็นอีกหนึ่งวันซึ่งเป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์ของโลก นั่นคือพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ณ มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์
ขณะนี้บรรดาพสกนิกรต่างเริ่มจับจองพื้นที่รอบพระราชวังบักกิงแฮมเพื่อชมขบวนเสด็จและเฝ้ารอเวลาที่พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะเสด็จออกสีหบัญชรซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของพระราชพิธี
ล่าสุดได้มีการเปิดเผยอีกหนึ่งรายละเอียดสำคัญ นั่นคือ “ฉลองพระองค์เครื่องต้น” หรือเครื่องทรงสำหรับพระมหากษัตริย์ที่จะทรงสวมใส่ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ในวันพระราชพิธี พระเจ้าชาร์ลส์จะเสด็จมาถึงมหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ด้วยฉลองพระองค์ชุดคลุมสีแดงเข้ม จากนั้นจะทรงถอดออกเพื่อรับการเจิม
จากนั้นเมื่อเข้าสู่พระราชพิธี พระเจ้าชาร์ลส์จะทรงสวมฉลองพระองค์ชุดคลุมยาวสีทองที่หนักและหนาเรียกว่า “ซูเปอร์ทูนิกา” (Supertunica) ลักษณะคล้ายชุดคลุมของนักบวช ซึ่งบางองค์ประกอบสร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 5 พระปัยกา (ตาทวด) ของพระองค์ โดยเจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ จะเป็นผู้ทรงช่วยสวมฉลองพระองค์นี้ให้กับพระราชบิดาในพระราชพิธี
ฉลองพระองค์ชุดคลุมยาวนี้สร้างขึ้นสำหรับพระเจ้าจอร์จที่ 5 ในปี 1911 และเป็นเครื่องฉลองพระองค์ที่ประมุขแห่งสราชอาณาจักรทุกพระองค์จะต้องทรงสวมใส่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมานับแต่นั้น รวมถึงโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ด้วย
ซูเปอร์ทูนิกามีน้ำหนักประมาณ 2 กก. เนื้อผ้าทำจากด้ายไหมสีทอง หุ้มด้วยโลหะสีทองหรือสีเงินชิ้นบาง ๆ และปักด้วยลวดลายอาหรับและลวดลายดอกไม้
ด้านบนของซูเปอร์ทูนิกาจะมีเสื้อคลุมยาวถึงพื้นที่เรียกว่า เสื้อคลุมจักรพรรดิ (Imperial Mantle) ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับพระราชพิธีบรมราชาพิเษกพระเจ้าจอร์จที่ 4 ในปี 1821 โดยมีน้ำหนัก 3-4 กก.
เสื้อคลุมจักรพรรดินี้จะรัดบริเวณพระอุระ (หน้าอก) ด้วยเข็มกลัดนกอินทรีสีทอง ได้รับแรงบันดาลใจจากชุดพิธีราชาภิเษกสมัยโบราณ และรูปแบบคล้ายนักบวช สะท้อนถึงสัญลักษณ์ของธรรมชาติอันสูงส่งของความเป็นกษัตริย์
ลวดลายบนเสื้อคลุมจักรพรรดิประกอบด้วย เฟลอร์-เดอ-ลี (ดอกไอริส) นกอินทรีของจักรพรรดิ และสัญลักษณ์ดอกไม้ประจำชาติ ได้แก่ ดอกกุหลาบสีชมพูแดง ดอกธิสเซิลสีน้ำเงิน และดอกแชมร็อกสีเขียวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แคโรไลน์ เดอ กีตูต์ จาก King's Works of Art ที่ Royal Collection Trust อธิบายว่า “ฉลองพระองค์ชุดคลุมนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ก็มีความสำคัญเช่นกันเนื่องจากลักษณะอันศักดิ์สิทธิ์ของการใช้งานในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก”
เสื้อคลุมนี้มักถูกเก็บไว้ในหอคอยแห่งลอนดอน และเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยเป็นธรรมเนียมของกษัตริย์องค์ปัจจุบันที่จะนำฉลองพระองค์ของกษัตริย์พะองค์ก่อนกลับมาใช้ใหม่ เช่นเดียวกับที่กษัตริย์ชาร์ลส์ทรงใช้ แต่ปกติแล้วจะมีการทำรัดพระองค์ (เข็มขัด) และฉลองพระหัตถ์ (ถุงมือ) ใหม่สำหรับพระราชพิธี
อย่างไรก็ดี เพื่อการประหยัดและความยั่งยืน สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้นำรัดพระองค์และฉลองพระหัตถ์ของพระอัยกา (ตา) คือสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 มาใช้ใหม่
เดอ กีตูต์บอกว่า “นี่เป็นการตัดสินพระทัยของพระองค์ … เครื่องฉลองพระองค์เหล่านี้ยังคงอยู่ในสภาพที่น่าทึ่ง … และนี่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องความยั่งยืนและประสิทธิภาพในการนำเครื่องฉลองพระองค์เหล่านี้กลับมาใช้ใหม่”
รัดประองค์ของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ถูกสร้างขึ้นในปี 1937 ทำจากผ้าปักดิ้นทองและมีหัวเข็มขัดสีทองประทับตราสัญลักษณ์ประจำชาติ รัดพระองค์นี้ยังมีเครื่องกลัดสำหรับติดดาบอาญาสิทธิ์ (Sword of Offering) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการตัดสินความดีและความชั่ว
ส่วนฉลองพระหัตถ์สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้น เป็นฉลองพระหัตถ์เดี่ยว ๆ สวมแค่ที่พระหัตถ์ขวาของกษัตริย์ชาร์ลส์ พร้อมกันนั้นจะทรงถือคทากษัตริย์ (Sovereign's Sceptre) หรือคทากางเขน อีกหนึ่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ตัวของฉลองพระหัตถ์เดี่ยวนี้ทำจากหนังสีขาว และที่ข้อมือปักรูปสัญลักษณ์ประจำชาติ เช่น กุหลาบทิวดอร์ ดอกธิสเซิล ดอกแชมร็อก ใบโอ๊ก และลูกโอ๊ก ด้านหลังพระหัตถ์มีมงกุฎดยุกปักเหนือตราประจำตระกูลของดยุกแห่งนิวคาสเซิล
เรียบเรียงจาก BBC
ภาพจาก AFP